เมนู

มีจักษุ ทำให้มีญาณ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความ
ตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั้น เราอาศัยอะไรกล่าวแล้ว มรรคมีองค์ 8 อัน
ประเสริฐนี้แล คือ ความเห็นชอบ ความดำริชอบ วาจาชอบ การงานชอบ
การเลี้ยงชีพชอบ ความพยายามชอบ ความระลึกชอบ ความตั้งใจชอบ ข้อ
ที่เรากล่าวดังนี้ว่า ความปฏิบัติปานกลาง ไม่เข้าใกล้ที่สุด 2 อย่างนี้นั้น อัน
ตถาคตรู้พร้อมด้วยปัญญายิ่งแล้ว เป็นข้อปฏิบัติทำให้มีจักษุ ทำให้มีญาณ
ในรูปเพื่อความเข้าไปสงบ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความตรัสรู้ เพื่อนิพพาน นั่น
เราอาศัยมรรคมีองค์ 8 อันประเสริฐดังนี้ กล่าวแล้ว.

ความยกย่องเป็นต้น


[657] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ
ครั้นรู้แล้ว ไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เรา
อาศัยอะไรกล่าวแล้ว ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไรเป็นการยกย่อง เป็นการ
ตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม คือ เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดตามประกอบ
ความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม อันเลว
เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ ชนเหล่านั้น ทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มี
ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบความประกอบเนืองๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุข
โดยสืบต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ
ไม่มีความแค้นใจ ไม่ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่ายกย่อง
ชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่อง

ประกอบคนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วย
ประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมดมีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความ
เร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชน
เหล่าใดไม่ตามประกอบความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์
ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์
ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ ดังนี้
ชื่อว่า ยกย่องชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์
ในภพไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ
มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิดดังนี้ ชื่อว่าตำหนิชนพวกหนึ่ง. เมื่อกล่าวว่า
ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์
ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ
ดังนี้ ชื่อว่ายกย่องชนพวกหนึ่ง. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล เป็นการ
ยกย่อง เป็นการตำหนิ และไม่เป็นการแสดงธรรม.
[658] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ก็อย่างไร ไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็น
การตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้ คือ ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดตาม
ประกอบความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของตนที่มีความสุขโดยสืบต่อกาม
อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบ
ด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ
มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล
เป็นธรรม มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความ
ปฏิบัติผิด ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใด
ไม่ตามประกอบความประกอบเนือง ๆ ซึ่งโสมนัสของคนที่มีความสุขโดยสืบ
ต่อกาม อันเลว เป็นของชาวบ้าน เป็นของปุถุชน ไม่ใช่ของพระอริยะ

ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้นทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ
ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่า อันความ
ไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรม ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ
ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่า แสดงแต่ธรรมเท่านั้น
ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดประกอบเนือง ๆ ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบ
คนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
ชนเหล่านั้นทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีด้วยความแค้นใจ มีความเร่าร้อน
เป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า อันความตามประกอบนี้แล เป็นธรรมมีทุกข์
มีความคับใจ มีความแค้นใจ มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติผิด ดังนี้
ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดไม่ตามประกอบ
ซึ่งความเพียรเครื่องประกอบตนให้ลำบาก อันเป็นทุกข์ ไม่ใช่ของพระอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ชนเหล่านั้น ทั้งหมด ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ
ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่า อัน
ความไม่ตามประกอบนี้แล เป็นธรรมไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มี
ความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นความปฏิบัติชอบ ดังนี้ ชื่อว่าแสดง
แต่ธรรมเท่านั้น. ไม่กล่าวอย่างนี้ว่าชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งยังละสัญโญชน์ในภพ
ไม่ได้แล้ว ชนเหล่านั้น ทั้งหมด มีทุกข์ มีความคับใจ มีความแค้นใจ มี
ความเร่าร้อน เป็นผู้ปฏิบัติผิด. กล่าวอยู่ว่า เมื่อยังละสัญโญชน์ในภพไม่ได้
แล้วแล ภพย่อมเป็นอันละไม่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น ไม่กล่าว
อย่างนี้ว่า ชนเหล่าใดเหล่าหนึ่งละสัญโญชน์ในภพได้แล้ว ชนเหล่านั้น ทั้งหมด
ไม่มีทุกข์ ไม่มีความคับใจ ไม่มีความแค้นใจ ไม่มีความเร่าร้อน เป็นผู้
ปฏิบัติชอบ. กล่าวอยู่ว่าก็ เมื่อละสัญโญชน์ในภพได้แล้วแล ภพย่อมเป็นอัน
สู่ได้ ดังนี้ ชื่อว่าแสดงแต่ธรรมเท่านั้น. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อย่างนี้แล

ไม่เป็นการยกย่อง ไม่เป็นการตำหนิ เป็นการแสดงธรรมแท้. ข้อที่เรากล่าว
ดังนี้ว่า พึงรู้จักการยกย่องและการตำหนิ ครั้นรู้แล้วไม่พึงยกย่อง ไม่พึงตำหนิ
พึงแสดงแต่ธรรมเท่านั้น นั่น เราอาศัยเนื้อความนี้ กล่าวแล้ว.

ความรู้ตัดสินความสุข


[659] ก็ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสินความสุข ครั้นรู้แล้ว.
พึงประกอบเนือง ๆ ซึ่งความสุขภายใน นั่น เราอาศัยอะไร กล่าวแล้ว.
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย กามคุณนี้มี 5 อย่างแล 5 อย่าง เป็นไฉน คือ รูปที่รู้
ได้ด้วยจักษุอันน่าปรารถนา น่าใคร่ น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม
เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด เสียงที่รู้ได้ด้วยโสต... กลิ่นที่รู้ได้ด้วยฆานะ...
รสที่รู้ได้ด้วยชิวหา... โผฏฐัพพะที่รู้ได้ด้วยกาย อันน่าปรารถนา น่าใคร่
น่าพอใจ เป็นที่รัก ประกอบด้วยกาม เป็นที่ตั้งแห่งความกำหนัด นี้แล
กามคุณ 5. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย สุขโสมนัสใดแล อาศัยกามคุณ 5 เหล่านี้
เกิดขึ้น สุขโสมนัสนี้ เรียกว่าสุขอาศัยกาม สุขของปุถุชน สุขอากูล ไม่ใช่
สุขของพระอริยะ. เรากล่าวว่า ไม่พึงเสพ ไม่พึงให้เจริญ ไม่พึงทำให้มาก
พึงกลัวสุขนี้. ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย ภิกษุสงัดจากกาม สงัดจากอกุสลธรรม
เข้าปฐมฌาน มีวิตก มีวิจาร มีปีติและสุข เกิดแต่วิเวกอยู่. เข้าทุติยฌาน
มีความผ่องใสแห่งใจภายใน มีความเป็นธรรมเอกผุดขึ้น เพราะสงบวิตกและ
วิจาร ไม่มีวิตก ไม่มีวิจาร มีปีติและสุขเกิดแต่สมาธิอยู่ เป็นผู้วางเฉย
เพราะหน่ายปีติมีสติสัมปชัญญะอยู่ และเสวยสุขด้วยนามกาย เข้าตติยฌาน...
อยู่ เข้าจตุตถฌาน ... อยู่ นี้เรียกว่า สุขอาศัยเนกขัมมะ. สุขเกิดแค่ความสุข
สุขเกิดแต่ความสงบ สุขเกิดแต่ความตรัสรู้ เรากล่าวว่า พึงเสพให้มาก
ให้เจริญ พึงทำให้มาก ไม่พึงกลัวสุขนี้ . ข้อที่เรากล่าวดังนี้ว่า พึงรู้ตัดสิน-